Thonburi lab Center
รอบรู้เรื่อง เบาหวาน

รอบรู้เรื่อง เบาหวาน

แชร์บทความนี้ :

โรค เบาหวาน (Diabetes Mellitus ; DM)

โรค เบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเกิดขึ้น

เนื่องจากขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือ ประสิทธิภาพของอินซูลินลดลง ซึ่งอินซูลินสร้างและหลั่งจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต ถ้าขาดอินซูลินหรืออินซูลินออกฤทธิ์ไม่ดีร่างกายจะไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงและมีอาการต่างๆของโรค เบาหวาน

รอบรู้เรื่อง เบาหวาน

ชนิดของโรค เบาหวาน มี 4 ชนิด แต่ที่พบบ่อยมี 2 ชนิด คือ

ชนิดที่ 1 ต้องพึ่งอินซูลิน

มักพบในคนอายุน้อย (<30ปี) เด็กและวัยรุ่น ในผู้ใหญ่พบได้บ้าง ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินทุกวัน เกิดจากเซลล์สร้างอินซูลินในตับอ่อนถูกทำลาย ทำให้สร้างอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลย

มักพบในคนอายุน้อย (<30ปี) เด็กและวัยรุ่น ในผู้ใหญ่พบได้บ้าง ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินทุกวัน เกิดจากเซลล์สร้างอินซูลินในตับอ่อนถูกทำลาย ทำให้สร้างอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลย

ชนิดที่ 2 ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน

 เพราะตับอ่อนยังผลิตอินซูลินได้ในจำนวนที่อาจปกติ, น้อยลงหรือมากขึ้น แต่อินซูลินที่มีอยู่นั้นไม่มีประสิทธิภาพดีเท่าที่ควร พบได้ในผู้ใหญ่และคนอ้วนหรือผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นเบาหวานมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ

รอบรู้เรื่อง เบาหวาน

ใครมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน

สาเหตุของโรคเบาหวานยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยส่งเสริมสำคัญของการเกิดโรคนี้ได้แก่
1. กรรมพันธุ์
2. ความอ้วน
3. การตั้งครรภ์
4. ความเครียด
5. โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด เนื้องอกในต่อมหมวกไตแลต่อมใต้สมอง

อาการที่พบได้บ่อย

ปัสสาวะบ่อย, กระหายน้ำบ่อย, อ่อนเพลีย, น้ำหนักลด, กินเก่ง หิวเก่ง แต่น้ำหนักลดลง, ตาพร่ามัวเห็นภาพไม่ชัดต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย, ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขา, คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดหญิง, อาการอื่นๆที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คัน, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, อาเจียน

รอบรู้เรื่อง เบาหวาน

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน

คนปกติทั่วไป จะมีน้ำตาลในเลือดอยู่ในช่วงประมาณ 60-110 mg/dl น้ำตาลในเลือดต้องสูงเกิน 180 mg/dl จึงจะออกมาในปัสสาวะให้ตรวจพบได้ ดังนั้นการตรวจปัสสาวะอย่างเดียวเพื่อหาเบาหวานจึงไม่เพียงพอ ต้องใช้การตรวจเลือดดูระดับน้ำตาล

เบาหวานกับโรคแทรกซ้อน

1. โรคเบาหวานกับโรคตา
2. โรคเบาหวานกับโรคไต
3. โรคเบาหวานกับโรคหัวใจและหลอดเลือด มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
4. โรคเบาหวานกับความดันโลหิตสูง
5. โรคเบาหวานกับภาวะฉุกเฉินภาวะน้ำตาลต่ำ ช็อคจากน้ำตาลสูงและภาวะ ketoacidosis
6. โรคเบาหวานกับปลายประสาทอักเสบ

รอบรู้เรื่อง เบาหวาน

โรคเบาหวานกับการติดตามการรักษา

1. การตรวจวัดค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1C) สามารถประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 2-3 เดือนที่ผ่านมา
2. การตรวจ Frutosamine สามารถประเมินการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงเวลาเพียง 7-10 วันที่ผ่านมา

ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจเบาหวาน

1. ครอบครัวพ่อแม่ พี่หรือน้องที่มีประวัติเป็นเบาหวาน
2. ผู้ที่มีน้ำหนักเกิดหรืออ้วน
3. ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ไม่ควรเกิน 130/80 มม.ปรอทและโรคหลอดเลือดหัวใจ
4. ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
5. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี
6. ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย
7. หญิงมีครรภ์ในช่วง 3-6 เดือน หรือน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม

รอบรู้เรื่อง เบาหวาน

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดจอง ได้ที่

หรือ

ช่องทางติดต่อ Online

รายการตรวจแนะนำ

บทความสุขภาพน่ารู้

รอบรู้เรื่อง เบาหวาน

รอบรู้เรื่อง เบาหวาน

แชร์บทความนี้ :

โรค เบาหวาน (Diabetes Mellitus ; DM)

โรค เบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเกิดขึ้น

เนื่องจากขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือ ประสิทธิภาพของอินซูลินลดลง ซึ่งอินซูลินสร้างและหลั่งจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต ถ้าขาดอินซูลินหรืออินซูลินออกฤทธิ์ไม่ดีร่างกายจะไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงและมีอาการต่างๆของโรค เบาหวาน

รอบรู้เรื่อง เบาหวาน

ชนิดของโรค เบาหวาน มี 4 ชนิด แต่ที่พบบ่อยมี 2 ชนิด คือ

ชนิดที่ 1 ต้องพึ่งอินซูลิน

มักพบในคนอายุน้อย (<30ปี) เด็กและวัยรุ่น ในผู้ใหญ่พบได้บ้าง ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินทุกวัน เกิดจากเซลล์สร้างอินซูลินในตับอ่อนถูกทำลาย ทำให้สร้างอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลย

มักพบในคนอายุน้อย (<30ปี) เด็กและวัยรุ่น ในผู้ใหญ่พบได้บ้าง ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลินทุกวัน เกิดจากเซลล์สร้างอินซูลินในตับอ่อนถูกทำลาย ทำให้สร้างอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลย

ชนิดที่ 2 ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน

 เพราะตับอ่อนยังผลิตอินซูลินได้ในจำนวนที่อาจปกติ, น้อยลงหรือมากขึ้น แต่อินซูลินที่มีอยู่นั้นไม่มีประสิทธิภาพดีเท่าที่ควร พบได้ในผู้ใหญ่และคนอ้วนหรือผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นเบาหวานมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ

รอบรู้เรื่อง เบาหวาน

ใครมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน

สาเหตุของโรคเบาหวานยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยส่งเสริมสำคัญของการเกิดโรคนี้ได้แก่
1. กรรมพันธุ์
2. ความอ้วน
3. การตั้งครรภ์
4. ความเครียด
5. โรคของต่อมไร้ท่อบางชนิด เนื้องอกในต่อมหมวกไตแลต่อมใต้สมอง

อาการที่พบได้บ่อย

ปัสสาวะบ่อย, กระหายน้ำบ่อย, อ่อนเพลีย, น้ำหนักลด, กินเก่ง หิวเก่ง แต่น้ำหนักลดลง, ตาพร่ามัวเห็นภาพไม่ชัดต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย, ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขา, คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดหญิง, อาการอื่นๆที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คัน, หย่อนสมรรถภาพทางเพศ, อาเจียน

รอบรู้เรื่อง เบาหวาน

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน

คนปกติทั่วไป จะมีน้ำตาลในเลือดอยู่ในช่วงประมาณ 60-110 mg/dl น้ำตาลในเลือดต้องสูงเกิน 180 mg/dl จึงจะออกมาในปัสสาวะให้ตรวจพบได้ ดังนั้นการตรวจปัสสาวะอย่างเดียวเพื่อหาเบาหวานจึงไม่เพียงพอ ต้องใช้การตรวจเลือดดูระดับน้ำตาล

เบาหวานกับโรคแทรกซ้อน

1. โรคเบาหวานกับโรคตา
2. โรคเบาหวานกับโรคไต
3. โรคเบาหวานกับโรคหัวใจและหลอดเลือด มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
4. โรคเบาหวานกับความดันโลหิตสูง
5. โรคเบาหวานกับภาวะฉุกเฉินภาวะน้ำตาลต่ำ ช็อคจากน้ำตาลสูงและภาวะ ketoacidosis
6. โรคเบาหวานกับปลายประสาทอักเสบ

รอบรู้เรื่อง เบาหวาน

โรคเบาหวานกับการติดตามการรักษา

1. การตรวจวัดค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1C) สามารถประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 2-3 เดือนที่ผ่านมา
2. การตรวจ Frutosamine สามารถประเมินการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงเวลาเพียง 7-10 วันที่ผ่านมา

ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจเบาหวาน

1. ครอบครัวพ่อแม่ พี่หรือน้องที่มีประวัติเป็นเบาหวาน
2. ผู้ที่มีน้ำหนักเกิดหรืออ้วน
3. ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ไม่ควรเกิน 130/80 มม.ปรอทและโรคหลอดเลือดหัวใจ
4. ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
5. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี
6. ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย
7. หญิงมีครรภ์ในช่วง 3-6 เดือน หรือน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม

รอบรู้เรื่อง เบาหวาน

ติดต่อสอบถาม หรือ นัดจอง ได้ที่

ช่องทางติดต่อ Online

You cannot copy content of this page